7 อันดับ โรคร้ายใกล้ตัวสำหรับคนเมือง

Monday, August 18, 2014

7 อันดับ โรคร้ายใกล้ตัวสำหรับคนเมือง

เนื่องจากวิถีชีวิตของคนเมืองส่วนใหญ่ ล้วนเต็มไปด้วยการแข่งขันกันทั้งเรื่องของเวลาและการทำงาน จึงทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวม  วันนี้จะนำบทความดีดี อีกบทความหนึ่งเกี่ยวกับโรคภัยสำหรับคนในเมืองหลวงจาก เว็บพลังจิต มาแชร์ให้ทุกท่านได้อ่านกัน ที่มาตาม link credit ข้างล่างครับ

ด้วยวิถีชีวิตของผู้คนเมืองใหญ่ที่ต้องใช้ชีวิตแข่งขันกับเวลา และภาระหน้าที่ที่รับผิดชอบ ทำงานหามรุ่งหามค่ำ เผชิญกับมลภาวะอยู่ทุกวี่วัน ย่อมส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนเหล่านี้โดยตรง เป็นปัญหาสุขภาพแอบแฝงอยู่ในร่างกายคนเมืองโดยที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว

แต่จะมีโรคอะไรบ้างนั้น เรามาอัพเดตข้อมูลกันดีกว่า จะได้รู้เท่าทันและป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

1. โรคเครียด

ปัจจุบันคนไทยเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นทุกๆปี หากเหลียวกลับไปมองชีวิตที่ผ่านมาสักนิดจะพบว่า ผู้คนในเมืองใหญ่มากมายมักมีพฤติกรรมหลายๆ อย่างที่ผิดๆ โดยเฉพาะเรื่องของอารมณ์ ไม่ว่าจะโกรธง่าย ฉุนเฉียวง่าย อยู่กับความเครียดตลอดเวลา

จากผลการวิจัยของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข พบว่า ในปี 2549 คนไทยมีแนวโน้มเป็นโรคเครียดในระดับสูงมากถึง 8% เครียดระดับปานกลาง 33% และเครียดระดับน้อย 57% รวมทั้งคนที่อยู่ในช่วงอายุ 25-35 ปี ซึ่งเป็นวัยที่กำลังก้าวหน้าในหน้าที่การงาน มักเป็นโรคเครียดมากกว่าวัยอื่น เรียกกันว่า โรคผู้บริหาร เพราะอายุมากขึ้น ความรับผิดชอบงานก็หนักขึ้นเป็นเงาตามตัว

การศึกษาของนักวิทยาศาสตร์พบว่า ความเครียดส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพ เช่น นอนไม่หลับเลย วิตกกังวล จนกระทั่ง อาเจียน เครียดลงกระเพาะอาหาร ปัสสาวะบ่อยจนกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เครียดแล้วเป็นไมเกรน หรือลุกลามถึงขั้นเป็นโรคหัวใจ

ส่วนผลกระทบทางด้านจิตใจ เช่น เกิดความกังวลตลอดเวลา ลนลานอย่างหนัก กังวลจนสมาธิไม่มี อารมณ์เสีย หงุดหงิด ฯลฯ หากปล่อยทิ้งไว้นานจะพัฒนาไปสู่โรคเครียดเรื้อรังได้

การปฏิบัติตัวที่จะช่วยลดอาการเครียดได้ก็คือ การผ่อนคลายความเครียดทางร่างกาย เริ่มง่ายๆด้วยการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย จะช่วยให้การทำงานของระบบเลือดหัวใจ และสมองดีขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ ลดคาร์โบไฮเดรต และแอลกอฮอล์ หรือจัดสภาพแวดล้อมในที่ทำงานใหม่ ซึ่งหลายๆหน่วยงานเริ่มให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เช่น จัดให้มีมุมนั่งเล่นในสวนสวย มุมทำสมาธิ มุมรับประทานอาหารว่าง มุมดูหนังฟังเพลง บริการนวดคลายเครียดในที่ทำงาน การเพิ่มเวลาพักทุกๆชั่วโมง ฯลฯ แต่หากไม่ดีขึ้นควรพบจิตแพทย์สถานเดียว

2. โรคระบบทางเดินหายใจ

มลภาวะเป็นพิษ สาเหตุหลักของโรคทางเดินหายใจ เช่น โรคปอด ไซนัส หวัด ภูมิแพ้ องค์การอนามัยโลกรายงานว่า โรคที่คร่าชีวิตคนทำงานมากที่สุดในปัจจุบันคือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โดยมีอัตราเสี่ยงสูงถึง 10% ของคนทั้งโลก

นอกจากนี้ รายงานทางการแพทย์ของไทยยังพบว่าคนกรุงเทพฯ มีอัตราผู้ป่วยภูมิแพ้สูงถึง 50% ต้นเหตุแห่งมลพิษก็มาจากโรงงานอุตสาหกรรมตามหัวเมืองใหญ่ๆทั่วโลกนี่แหละ ที่ปล่อยหมอกควันพิษเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ รวมทั้งไอเสียจากรถยนต์ที่มีปริมาณมากขึ้นทุกวัน

อาการเบื้องต้นของภูมิแพ้เริ่มจากเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย โดยไม่ได้มาจากการเจ็บป่วย หายใจไม่สะดวก ป่วยกระเสาะกระแสะ เหมือนเป็นไข้หวัดตลอดเวลา คัดจมูก น้ำมูกน้ำตาไหล แต่ไม่มีไข้

เราสามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการหลีกเลี่ยงการเดินทางในช่วงเวลารถติด พักอาศัยอยู่ในที่อากาศถ่ายเทหรือไปสูดอากาศนอกเมืองบ้าง และออกกำลังกายเป็นประจำ

3. ความผิดปกติของกล้ามเนื้อ

ยุคไอที แทบทุกคนในเมืองใหญ่ต้องนั่งทำงานกับคอมพิวเตอร์ การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ทำให้ตาพร่ามัว รังสีจากหน้าจอทำให้กล้ามเนื้อตาตึงเครียด อาการเหล่านี้หากทิ้งไว้นานจะมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย การพักสายตาด้วยการหลับตา หรือมองต้นไม้ใบหญ้า จะช่วยลดความเมื่อยล้าของดวงตาได้

กล้ามเนื้อเมื่อยล้าเป็นอาการเครียดของกล้ามเนื้อเมื่อใช้งานต่อเนื่องนานๆ เช่น การกดแป้นคีย์บอร์ด ทำให้ข้อกระดูกนิ้วเสื่อม กล้ามเนื้อไหล่ตึง และเจ็บปวด การขยับเมาส์ไปมาทำให้ปวดกระดูกข้อมือ อาจเกิดพังผืดที่โพรงเส้นประสาทข้อมือหรืออุโมงค์ข้อมือ หากทิ้งไว้นานอาจปวดเรื้อรังถึงขั้นพิการ

อาการเหล่านี้บรรเทาด้วยการพักข้อมือ รับประทานยาแก้ปวด บางรายที่อาการหนัก อาจต้องสวมอุปกรณ์ประคองข้อมือ หรือฉีดยาเพื่อลดอาการเจ็บปวด

อีกวิธีหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาได้คือ ปรับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้เหมาะกับสรีระ เช่น ใช้แผ่นป้องกันแสง เพื่อป้องกันรังสี หรือเลือกใช้จอถนอมสายตา ควรปรับแสงสว่างหน้าจอให้เหมาะกับช่วงแต่ละเวลาด้วย ขณะใช้คีย์บอร์ดและเมาส์ให้วางท่อนแขนขนานกับพื้น มีแผ่นรองข้อมือเพื่อช่วยลดการเคลื่อนไหว และการเสียดสี ปรับระดับเก้าอี้ให้นั่งสบาย ขาตั้งฉากกับพื้น ซึ่งถือเป็นท่าที่ถูกต้อง

4. โรคปลายประสาทอักเสบ

เกิดจากความผิดปกติของประสาทส่วนปลาย เป็นผลจากโรคเครียดและกล้ามเนื้ออักเสบ การได้รับสารพิษหรือโลหะหนักอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการนั่ง ยืน หรือท่ายกของอย่างไม่ถูกต้องเป็นเวลานานๆ จนเกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตั้งแต่บริเวณคอ ลงไปที่ไหล่ เรื่อยถึงกระดูกสันหลัง และช่วงเอว ทำให้ทรงตัวไม่ได้ ร่างกายอ่อนปวกเปียก ชาตามปลายนิ้วมือนิ้วเท้า หากปล่อยไว้กล้ามเนื้อจะลีบ เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้

โรคนี้พบบ่อยในคนทำงานนั่งโต๊ะ รวมทั้งคนที่อาศัยในเขตอุตสาหกรรม โดยเฉพาะบริเวณที่มีมลพิษหนาแน่น ป้องกันได้โดยการนั่ง ยืน เดิน ในท่าที่ถูกต้อง นวดคลายกล้ามเนื้ออยู่สม่ำเสมอ อยู่ในที่ที่สภาพแวดล้อมดี อากาศดี

5. โรคนอนไม่หลับ

ทุกคนรู้ดีว่า การนอนหลับสนิทอย่างเพียงพอ มีความสำคัญยิ่งยวดต่อความเข้มแข็งของสุขภาพและวิถีการดำเนินชีวิต แต่ปัจจุบันมีคนจำนวนไม่น้อยมีปัญหาการนอนไม่หลับ โดยเฉพาะคนเมืองที่มีวิถีชีวิตการกินอยู่ผิดธรรมชาติ

ผลการศึกษาทางการแพทย์พบว่า ประชากรผู้ใหญ่ในเมืองใหญ่กว่าร้อยละ 30 ไม่ได้รับการพักผ่อนนอนหลับอย่างมีสุขภาพและเพียงพอ ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจในแต่ละวันได้อย่างมีคุณภาพ

การนอนไม่หลับเป็นการนอนหลับยาก นอนหลับๆตื่นๆ หรือสะดุ้งขึ้นมา และนอนหลับต่อไม่ได้ ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น อาหาร รูปแบบการใช้ชีวิต การเจ็บป่วย การใช้ยา ความเครียด ความกังวล ฯลฯ คนส่วนใหญ่มักเป็นอยู่ 2-3 วัน แล้วจะหายไปเอง

แต่บางรายที่นอนไม่หลับเป็นระยะเวลานานติดต่อกันเป็นสัปดาห์ขึ้นไป หากปล่อยไว้นานๆ จะมีอาการเรื้อรัง กระทั่งส่งผลเสียร้ายแรงต่ออารมณ์ ความจำ การตื่นตัว ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียตลอดเวลา และไม่มีแรง บางครั้งกลายเป็นโรคซึมเศร้าด้วย

หากคุณเป็นหนึ่งที่มีอาการนอนไม่หลับ ให้ลองเปลี่ยนพฤติกรรมดู เช่น พยายามนอนและตื่นเวลาเดิมทุกเช้า ไม่ว่าจะนอนดึกแค่ไหนก็ตาม ออกกำลังกาย ผู้ที่ออกกำลังกายวันละ 40 นาที จะหลับลึกนานกว่าคนทั่วไป

แต่ถ้าหากเป็นนานกว่า 2 สัปดาห์ หาสาเหตุชัดเจนไม่ได้ และรู้สึกง่วง อ่อนเพลีย จนไม่สามารถทำงานได้ หลับบ่อยครั้งในระหว่างวัน ควรไปพบแพทย์ได้แล้ว

6. โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

ความรีบเร่งทำงาน รถติด ห้องน้ำไม่สะอาด ทำให้คนส่วนใหญ่เลือกที่จะกลั้นปัสสาวะ โดยไม่รู้เลยว่าปริมาณน้ำจะเพิ่มเป็นเท่าตัว ทำให้กระเพาะปัสสาวะบวม ซึ่งผู้หญิงมีท่อนำปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย เชื้อโรคจะย้อนกลับเข้าไปสู่กระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดการติดเชื้อได้

อาการของโรคนี้ จะทำให้คุณมีอาการปวดปัสสาวะมากกว่า 8 ครั้งใน 1 วัน หรือปวดปัสสาวะกระปริดกระปอย ต้องเข้าห้องน้ำบ่อย จนรบกวนการหลับนอน กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ในรายที่เพิ่งเริ่มเป็น รักษาให้หายขาดได้ ด้วยการรับประทานยาเพียง 1 สัปดาห์

7. โรคไมเกรน

อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรง บริเวณขมับหรือใกล้เบ้าตา ลักษณะการปวดจะรู้สึกปวดลึกเป็นจังหวะสอดคล้องกับการเต้นของหัวใจ เป็นสัญณาณเตือนของโรคไมเกรน เป็นโรคที่กำลังคุกคามประชาชนในเมืองใหญ่ อย่างน่าเป็นห่วง

ข้อมูลจากคณะกรรมการการอาหารและยาระบุว่า การปวดหัวไมเกรนส่วนใหญ่ จะพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากช่วงอายุที่พบเป็นช่วงวัยทำงาน มากกว่าผู้สูงอายุ แต่เมื่ออายุมากขึ้นอาการจะลดลง และผู้หญิงที่เป็นไมเกรนเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน ก็จะหยุดปวดไมเกรนไปด้วย จึงเชื่อกันว่าน่าจะมีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมนในร่างกาย

ปัจจุบัน ยังไม่มียาตัวใดรักษาให้หายขาด การกินยาแก้ปวดเมื่อยเพียงการบรรเทาอาการปวดศีรษะ หากกินยานานๆ จะเป็นพิษสะสมในตับ วิธีดูแลตัวเองนั้น เน้นนอนหลับให้เพียงพอ เพราะการพักผ่อนน้อย จะกระตุ้นอาการปวดศีรษะ

นอกจากนี้ การออกกำลังกายสม่ำเสมอและการขจัดความเครียด จะช่วยบรรเทาอาการปวดได้ ส่วนเรื่องอาหารควรหลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นไมเกรน เช่น ชา กาแฟ ผงชูรส เนย นม กล้วยหอม ส้ม เป็นต้น

หลังจากอ่านกันจบแล้ว หวังว่าบทความดีๆ ที่นำมาแชร์นี้คงมีประโยชน์สำหรับเพื่อนๆนะครับ
ขอบคุณบทความดีๆ จาก :
(ข้อมูลจากสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร)
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 155 พฤศจิกายน 2556 โดย กองบรรณาธิการhttps://th-th.facebook.com/dhammaleela)

credit : http://board.palungjit.org/f9/%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2-7-%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87-519972.html

เคล็ดลับสุขภาพ : 9 ยาอายุวัฒนะเพื่อการมีอายุยืน

Sunday, August 17, 2014

เคล็ดลับสุขภาพ :  9 ยาอายุวัฒนะเพื่อการมีอายุยืน

วันก่อนลูกสาว บ้าทานถั่วอย่างไม่เคยกินมาก่อน เห็นแล้วแปลกใจเลยถามว่าทำไมช่วงนี้กินถั่วเยอะจัง ลูกสาวไปหยิบหนังสือเล่มหนึ่งมาให้ดู ในหนังสือบอกว่ากินถั่วแล้วอายุยืน เลยต้องมานั่งอธิบายปรับความเข้าใจให้ใหม่ จึงไม่น่าแปลกใจว่าใครๆก็อยากอายุยืนแม้แต่เด็กเล็กๆ  เห็นว่าบทความนี้ดีมีประโยชน์สำหรับทุกคนเลย ขอแชร์ให้เพื่อนอ่านกัน

คนร้อยปีมีกระจายอยู่ทั่วโลก ภูมิภาคที่มีคนร้อยปีอยู่หนาแน่น ซึ่งมีวิถีชีวิตแบบของตนเอง เรียกว่า Blue Zones ซึ่งเรื่องนี้ แดน บูตเนอร์ (Dan Buettner) นักเขียนบทความทางวิทยาศาสตร์ และทีมงานจากเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก ได้ทำการสำรวจค้นหาแหล่งคนร้อยปีทั่วโลก

เขาพบว่า โลกของเรามีแหล่งคนร้อยปีที่อยู่กันมาก 5 แห่ง คือ
1. เกาะโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผู้เขียนได้กล่าวถึงในตอนที่แล้ว
2. เมืองโลมา ลินดา รัฐแคลิฟอร์เนีย
3. เกาะซาดิเนีย ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ชายฝั่งของอิตาลี
4. เกาะอิเกเรีย ประเทศกรีซ
5. คาบสมุทรนิโคญา คอสตาริกา

หลังจากการสำรวจชุมชนคนร้อยปีเหล่านี้ เขาพบปัจจัยหลายประการ ที่ทำให้คนเหล่านี้อายุยืนกล่าวคือ
1. เคลื่อนไหวอย่างธรรมชาติ คนร้อยปีเหล่านี้ ไม่ได้ออกกำลังกายหักโหม จริงจัง หนักหน่วงอะไร ตรงกันข้าม เขากลับเคลื่อนไหวแบบธรรมชาติ ด้วยการทำงาน เดินเล่น ทำสวน ทำงานบ้าน ปลูกผักผลไม้ไว้กินเอง ออกกำลังกายเบาๆ

2. ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย มีเป้าหมาย รู้ว่าพรุ่งนี้ตื่นขึ้นมาแล้วจะอยู่ต่อไปเพื่ออะไร ดังนั้น สิ่งที่เขาทำอยู่จึงเป็นปัจจัยให้อายุยืน

3. ลดความเครียด คนร้อยปีมีกิจกรรมทางจิตใจ ที่ช่วยลดความเครียด เช่น คนโอกินาวาใช้เวลาสวดมนต์ระลึกถึงบรรพบุรุษทุกวัน คนโลมา ลินดา สวดมนต์ถึงพระเจ้าทุกวัน ไปทำกิจกรรมที่โบสถ์ทุกวันเสาร์เป็นประจำ ซึ่งจะช่วยให้ลดความกังวลใจ

4. ยึดหลักความพอดี ในการกินพออิ่ม การอยู่แบบเรียบง่าย สบายๆ คนเหล่านี้ใช้ชีวิตแบบไม่รีบร้อน และมีความทะเยอทะยานน้อย

5. กินพวกพืช ผัก ผลไม้ เป็นหลัก กินอาหารอื่นๆน้อยลง พวกเซเวนเดส์ แอดเวนติส ไม่กินเนื้อสัตว์ คนโอกินาวา กินเนื้อสัตว์น้อย

6. ดื่มไวน์เล็กน้อย คนร้อยปีมักไม่ดื่มแอลกอฮอล์ คนร้อยปีบนเกาะซาดีเนีย ชายฝั่งอิตาลี กินไวน์แดง วันละ 1-2 แก้วพร้อมอาหาร และกินอาหารพร้อมกับครอบครัว มีงานวิจัยของ นพ.เดวิท ซินแคร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่า ไวน์แดงมีสาร resveratrol ช่วยป้องกันโรคหัวใจ และช่วยให้อายุยืน

7. มีศรัทธา คนร้อยปีเกือบทุกแห่งจะมีกิจกรรมทางศาสนาที่ตนนับถือศรัทธา มีงานวิจัยพบว่าคนที่ไปโบสถ์ สวดมนต์เป็นประจำ จะมีโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคสมองเสื่อม น้อยกว่าคนทั่วไป 3-5 เท่า มีอายุยืนยาวกว่าคนทั่วไป 8 ปี

8. มีสายสัมพันธ์ในครอบครัวใกล้ชิด คนร้อยปีมักจะมีความอบอุ่นในครอบครัว เป็นแบบครอบครัวโบราณอยู่กันหลายๆคน เป็นครอบครัวขยาย ปู่ ย่า ตา ยาย ลูก หลาน เหลน ลุง ป้า น้า อา เพื่อนบ้าน มีความใกล้ชิดกัน

9. กลุ่มเกื้อกูลทางสังคม มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มช่วยเหลือกันทางสังคม เช่น กลุ่มโบสถ์วันเสาร์ ในโลมา ลินดา ช่วยกันทำงานอาสาสมัคร กลุ่มแบบโมเอะ ของชาวโอกินาวา ช่วยเหลือกันในงานสังคมสงเคราะห์ด้านต่างๆ เป็นต้น

แดน บูตเนอร์ ได้นำทีมแพทย์ นักโภชนาการ นักมานุษยวิทยา และนักวิจัยเข้าไปศึกษาคนร้อยปีในภูมิภาคต่างๆของโลก และตีพิมพ์ในหนังสือ The Blue Zones ซึ่งทำให้เราได้รู้เรื่องของคนร้อยปีมากขึ้น
ในตอนที่แล้วผู้เขียนได้กล่าวถึง คนร้อยปีเกาะโอกินาวาไปแล้ว ในที่นี้ขอกล่าวถึงคนร้อยปีอีกกลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือ คนร้อยปีแห่งเมืองโลมา ลินดา แคลิฟอร์เนีย เมืองนี้อยู่ไปทางตะวันออกของนครลอสแองเจลีสราว 60 ไมล์ เป็นชุมชนคนนับถือคริตส์ นิกายเซเวนเดย์ แอดเวนติสต์ หรือคริสตจักรวันเสาร์ (Seventh-day Adventists)

คนที่นี่มีศูนย์รวมอยู่ที่โบสถ์แอดเวนติสต์ พวกเขารับประทานอาหารมังสวิรัติ กินขนมปังโฮลวีท ธัญพืช ถั่ว ผัก ผลไม้ งดเว้นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โซดา และบุหรี่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พวกเขามีศูนย์การจัดการน้ำกินน้ำใช้ของตนเอง โดยคำนึงถึงสุขภาพอย่างเคร่งครัด
ทุกคนไปโบสถ์วันเสาร์ซึ่งถือว่า เป็นวันบริสุทธิ์ เรียกว่า สบาโต เป็นวันหยุดพัก จะมีการสังสรรค์ในหมู่สมาชิก และเป็นการผ่อนคลาย ทำกิจกรรมทางศาสนา เช่น สวดมนต์ ร้องเพลง ฟังดนตรี ฟังธรรมจากบาทหลวง และทำงานอาสาสมัครร่วมกัน ซึ่งทำให้ยึดโยงพวกเขาเข้าหากัน มีความศรัทธาในพระเจ้า มีวิถีชีวิตที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี ทำให้คนที่นี่มีอัตราการเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง ต่ำกว่าคนอเมริกันมาก และอายุเฉลี่ยของคนที่นี่ก็ยาวกว่า คนอเมริกันทั่วไปถึง 10 ปี

คนร้อยปีที่เมืองโลมา ลินดา ยังมีสุขภาพแข็งแรง ทำงานได้ทุกวัน ยกตัวอย่างเช่น มาร์จ เจตทัน (Marge Jetton) เป็นคนคริสตจักรวันเสาร์ เดิมเธอเป็นพยาบาล สามีเป็นแพทย์ ซึ่งเสียชีวิตเมื่ออายุ 77ปี ปัจจุบันเธออายุ 108 ปี ยังแข็งแรง กระฉับกระเฉง ออกกำลังกายโดยเดินในตอนเช้าวันละ 1.5 กิโลเมตร ยกน้ำหนักบ้าง ปั่นจักรยานอยู่กับที่บ้าง เธอกินข้าวโอ๊ตเป็นอาหารเช้า กินมังสวิรัติ และยังทำงานอาสาสมัครช่วยดูแลผู้สูงอายุที่ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุของเมืองนี้

ส่วนอีกคนหนึ่งซึ่งน่าสนใจไม่แพ้กัน คือ นพ.เอลส์เวิร์ท แวร์แฮม (Ellswarth E. Wareham) อายุ 97 ปี เป็นคนคริสตจักรวันเสาร์ เขาเป็นศัลยแพทย์หัวใจ เป็นคนแข็งแรง ปัจจุบันก็ยังทำงานผ่าตัดอยู่ หมอแวร์แฮมบอกว่า “การยอมรับพระเยซูเจ้า คือการเป็นอิสระ ซึ่งช่วยลดความเครียดได้ พระเจ้าทรงชี้นำและคุ้มครองเรา” แสดงให้เห้นว่า การเชื่อมั่นศรัทธาในศาสนาเป็นสิ่งที่ช่วยให้มีสุขภาพจิตที่ดี รวมทั้งความรักความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ ก็ล้วนแต่มีผลดีต่อสุขภาพทั้งสิ้น
ศาสตราจารย์ แกรี่ เฟรเซอร์ แห่งมหาวิทยาลัยโลมา ลินดา ผู้อำนวยการโครงการศึกษาคนคริสตจักรวันเสาร์ เมืองโลมา ลินดา ชี้ให้เห็นถึงข้อสรุปที่น่าทึ่งว่า สมาชิกคริสตจักรวันเสาร์ มีอายุเฉลี่ยสูงกว่าชาวแคลิฟอร์เนียทั่วไป 4-10 ปี มีโรคเรื้อรังอัตราต่ำกว่าคนทั่วไป วิถีชีวิตของคนกลุ่มนี้จัดเป็นเคล็ดลับของคนอายุยืน ที่น่าเชื่อถือที่สุดกลุ่มหนึ่งในประเทศ สหรัฐอเมริกา (Centers - Loma Linda University Adventist Health Studies.)

ท่านสามารถดูเรื่องราวของคนร้อยปีแห่งเมืองโลมา ลินดา ได้ใน YouTube มีให้ดูหลายเรื่อง โดยพิมพ์ชื่อเรื่องลงไป เช่น เรื่อง Adventist longevity study, เรื่อง Bluezone – Loma Linda, California pt 1, pt 2 และ เรื่อง Part 3- How to live to 101 BBC Horizon เป็นต้น

อ่านแล้วก็นำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันกันจะได้มีสุขภาพดีทั้งกายและใจ  โชคดีมีสุขอายุยืนยาว

(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 160 เมษายน 2557 โดย นพ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)

วัคซีนไข้หว้ดใหญ่ทำไมต้องฉีดทุกปี

Saturday, August 16, 2014

วัคซีนไข้หว้ดใหญ่ทำไมต้องฉีดทุกปี

ก่อนอื่นเราควรรู้ก่อนว่า ไข้หวัดใหญ่คืออะไร เกิดจากอะไร ไข้หวัดใหญ่เป็นโรคติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ติดต่อได้ง่าย จากการไอ จาม และพูดคุยกันกับผู้ป่วย ในระยะใกล้ชิด  หากเกิดในเด็ก หรือผู้สูงอายุจะมีความรุนแรงของโรค และเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย บางรายอาจเสียชีวิตได้

ลักษณะอาการของไข้หว้ดใหญ่

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นไข้หว้ดใหญ่ เนื่องจากไข้หวัดใหญ่มีอาการคล้ายโรคติดเชื้อประเภทอื่น การตรวจร่างกายเบื้องต้น และซักประวัติ อาจไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยโรคได้ โชคดีที่ทุกวันนี้การตรวจหาเชื้อไข้หวัดใหญ่ มีความรวดเร็วและแม่นยำกว่าแต่ก่อนมาก เป็นการตรวจที่เรียกว่า Nasal swap เพียงใช้สำลี เช็ด หรือ ป้ายภายในโพรงจมูก มาใส่ในน้ำยาทดสอบก็สามารถทราบผลได้ภายใน 1 ชั่วโมง ซึ่งสามารถรักษาได้เร็วขึ้น หากมีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วย

อาการที่พบได้บ่อยในโรคไข้หวัดใหญ่
1.ไข้สูง บางครั้ง มีอาการหนาวสั่น
2.ปวดศรีษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมาก
3.เจ็บคอ ไอ คัดจมูก น้ำมูกไหล
4.อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร จุกแน่นท้อง

การรักษาไข้หวัดใหญ่

ปัจจุบันมียาที่ใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่ได้คือ ยา Oseltamivir หรือ ยา Tamiflu ซึ่งผู้ป่วยจะได้ประโยชน์มากที่สุด หากได้ใช้ยานี้รักษาภายใน 2 วันแรกที่ตรวจพบว่าเป็นดรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาของการเป็นโรค และลดภาวะแทรกซ้อนและการระบาดของโรคได้

การป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่

การป้องกันที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีน เนทื่องจากไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคที่มีผลกระทบมาก เช่น ทำให้ต้องขาดงาน ขาดเรียนอย่างน้อย 7-10วัน และในบางรายอาจมีอาการรุนแรง จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล หรือมีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต

ดังนั้นการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันจึงมีความคุ้มค่ามากกว่า เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการรักษาเมื่อเป็นโรคแล้ว สิ่งสำคัญคือ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือ ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่เป็นหวัด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ของใช้ร่วมกับผู้ป่วย โดยเฉพาะ ช้อน จาน ชาม และไม่ควรอยู่ในสถานที่ที่แออัด เพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะกระจายอยู่ในอากาศ และน้ำมูก น้ำลายของคนที่เป็นโรค
อย่างไรก็ตามวัคซีน ไข้หวัดใหญ่ ควรฉีดทุกปี เพราะเชื้อไวรัสจะเปลี่ยนสายพันธ์ที่ระบาดแต่ละปีไม่เหมือนกัน

คำถามที่พบบ่อย.. วัคซีนไข้หว้ดใหญ่ทำไมต้องฉีดทุกปี

- เพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธ์ทุกปี การผลิตวัคซีนจึงมีการเปลี่ยนแปลงทุกปีเช่นกัน เพื่อให้ครอบคลุมเฃื้อที่เป็นสาเหตุ
- ภูมิคุ้มกันที่เกิดหลังฉีดดวัคซีนจะมีความเฉพาะเจาะจง ต่อเชื้อที่ทำให้เกิดโรคเท่านั้น
- หลังฉีดวัคซีน 2 สัปดาห์ จะเกิดภูมิคุ้มกันโรค และมีอายุนาน 1 ปี
- ถ้าไม่ได้รับวัคซีนหลังจากระยะเวลา 1 ปี ถึงแม้เป็นเชื้อตัวเดิมก็จะป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้

ข่าวสารจาก อย. - อย.ห่วงภัยแฝงช่วงหน้าฝนจากการสูดดมยาจุดกันยุง

Friday, August 15, 2014

ข่าวสารจาก อย. - อย.ห่วงภัยแฝงช่วงหน้าฝนจากการสูดดมยาจุดกันยุง

อย.ห่วงใยผู้บริโภคเจอภัยแฝงช่วงหน้าฝนที่มาจากการสูดดมสารกลุ่มไพรีทรอยด์ที่ผสมอยู่ในยาจุดกันยุง ซึ่งหากได้รับสารกลุ่มไพรีทรอยด์ในปริมาณมาก อาจทาให้เกิดอาการพิษเฉียบพลันได้แก่ มึนงง ปวดศรีษะ และ อาเจียนได้ และ ในรายที่แพ้จะทำให้ผิวหนังอักเสบ บวมแดงน้ำมูกไหลและหายใจขัด อย.เตือนควรใช้อย่างถูกวิธีและปฏิบัติตามคำเตือนตามที่ได้ระบุไว้ข้างกล่องผลิตภัณฑ์


ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และ ในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีความห่วงใยผู้บริโภค เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเพิ่มขึ้น หนึ่งในโรคที่น่ากลัวในช่วงฤดูฝนคือโรคไข้เลือดออก ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค และ หนึ่งในวิธีการป้องกันยุงลายอย่างง่ายนั้นคือการใช้ยาจุดกันยุงเพื่่อป้องกันไม่ให้ยุงกัด


ยาจุดกันยุงส่วนใหญ่จะนิยมใช้สารไล่หรือป้องกันยุงในกลุ่มไพรีทรอยด์ (pyrethroids) ซึ่งเป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่เลียนแบบสารไพรีทรินส์ (pyrethrins) ที่สกัดได้จากพืชตระกลเบญจมาศ (สารสกัดไพรีทรัมหรือ pyrethrum extract) ตัวอย่างสารออกฤิทธิ์กลมไพรีทรอยด์ที่นิยมใช้ในยาจุดกันยุงและขึ้นทะเบียนไวักับ อย. เช่น ดี-อัลเลทริน (d-allethrin), เอสไบโอทริน (esbiothrin), เมโทฟลูทริน (metofluthrin) เป็นต้น สารไพรีทรอยด์ในยาจุดกันยุงจะ ไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท ทำให้ยุงเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว และตกลงมาหงายท้อง นอกจากนี้สารไพรีทรอยด์ยังมีฤทธิ์ในการไล่ยุงด้วย ควันที่ปล่อยออกมาจากยาจุดกันยุงที่มีส่วนผสม ของไพรีทรอยด์จึงช่วยลดอัตราการกัดของยุงและป้องกันการรบกวนจากยุงในบริเวณที่จุดได้ ในปัจจุบันยาจุดกันยุงมีการพยายามปรับแต่งกลิ่นให้มีกลิ่นหอมเลียนแบบธรรมชาติเพื่อกลบกลิ่น เผาไหม้และกลิ่นของสารเคมี

โดยทั่วไปสารไพรีทรอยด์มีความเป็นพิษต่ำกว่าสารเคมีกำจัดแมลง กลุ่มอื่น การใช้ยาจุดกัน ยุงในขนาดและวิธีการใช้ปกติมักไม่พบการเกิดพิษ อย่างไรก็ตาม หากสูดดมควันที่ปล่อยออกมาจาก ยาจุดกันยุงในปริมาณมาก เช่น อยู่ในบริเวณที่คับแคบไม่มีอากาศถ่ายเทติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจ เป็นอันตรายได้ โดยความรุนแรงของอาการพิษขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย หาก ได้รับในปริมาณสูงจะมีอาการพิษเฉียบพลัน ได้แก่ มึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนเพลีย ชัก หรือหมดสติได้ ส่วนอาการพิษอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ อาการแพ้ทางผิวหนัง คัน มีผื่นแดง หากเข้าตาอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดต่อสุขภาพ ผู้บริโภคควรจุดยาจุดกันยุงในห้องที่มี อากาศถ่ายเทและเก็บให้มิดชิด ไม่ควรวางไว้ใกล้หรือรวมกับอาหารและวางให้พ้นมือเด็ก หลังจาก สัมผัสยาจุดกันยุงทุกครั้งควรล้างมือให้สะอาด นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้น ควร ใช้ขาตั้งหรือถาดรองยาจุดกันยุงที่ทำด้วยโลหะหรือวัสดุที่ไม่ติดไฟ ขณะใช้ควรวางให้ห่างวัตถุไวไฟหรือ ของที่เป็นเชื้อไฟได้ ในกรณีที่ได้รับอันตรายจากการใช้ยาจุดกันยุง หรือพบผลิตภัณฑ์ ที่สงสัยว่าไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย. สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ รองเลขาธิการฯ กล่าวในที่สุด

credit: http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/%E0%B8%AD%E0%B8%A2._%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9D%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9D%E0%B8%99_%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%A1_%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%87.pdf

ธรรมะกับสุขภาพ : “สมาธิ” บำบัดโรค

ธรรมะกับสุขภาพ : “สมาธิ” บำบัดโรค

วันนี้เจอบทความเกี่ยวกับแพทย์ทางเลือก  ที่ดีสำหรับสุขภาพ เลยขอนำมาแชร์ นะครับ ที่มาตามเครดิตท้ายบทความนะครับ

ท่านผู้อ่านครับ สาเหตุการตายของคนในโลกนี้ร้อยละ 80 มาจากโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว โรคเหล่านี้ต้องรักษากันตลอดชีวิต เป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ต้องกินยาตลอด จึงทำให้เสียค่าใช้จ่ายดูแลรักษามาก

โรคเหล่านี้เป็นในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคความดัน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคอัมพฤกษ์อัมพาต โรคมะเร็ง โรควิตกกังวลเรื้อรัง โรคซึมเศร้า โรคนอนไม่หลับ เป็นต้น โรคเหล่านี้ทำให้คุณภาพชีวิตเลวลง สร้างความทุกข์ทรมานต่อผู้ป่วยอย่างมาก โรคในกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญมากในแง่ของการวางแผนระบบสุขภาพในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เนื่องจากในอนาคตจะมีผู้สูงอายุมากขึ้น จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการดูแล ถ้าวางระบบไม่ดีก็จะเป็นปัญหาอย่างมาก
นายบัน คีมุน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้กล่าวไว้ในการประชุม World Economic Forum 2011(www. Youtube.com/Davos AnnualMeeting 2011-combating chronic disease) ว่า ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคเรื้อรังปีละ 35ล้านคน และต้องใช้งบประมาณดูแลโรคเหล่านี้อย่างมาก โรคนี้กำลังคุกคามชีวิตของคนในปัจจุบัน ดังนั้น สหประชาชาติจึงถือว่าเป็นปัญญาเร่งด่วนที่ต้องร่วมกันแก้ปัญหานี้ให้ได้ (www.youtube.com/2011UN NCDs summit:the uropean story)
ในประเทศไทย ตัวเลขของกระทรวงสาธารณสุข พบว่าในปี 2553มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังประมาณ 1.7ล้านคน และใช้งบประมาณดูแลมากถึง 52,000ล้านบาท ในสหรัฐอเมริกาก็เหมือนกัน ในปี 2002 คนอเมริกันร้อยละ 44 มีโรคเรื้อรังอย่างน้อย 1 โรค(ประมาณ 157ล้านคน) ร้อยละ 13 มีโรคเรื้อรัง 3 โรคหรือมากกว่า ค่ารักษาพยาบาลคิดเป็นร้อยละ 75 ของค่าใช้จ่ายในระบบสุขภาพ รวมแล้วราว 2.5 แสนล้านดอลลาร์ ดังนั้น รัฐบาลของประเทศต่างๆจึงพยายามเตรียมรับมือกับปัญหานี้ โดยมีสหประชาชาติเป็นตัวกลางสร้างเครือข่ายความร่วมมือกัน
manager130103_001b
ผู้ที่ศึกษาในเรื่องนี้มากคือ ดร.เฮอร์เบิร์ต เบนสัน (Herbert Benson) ศาสตราจารย์ด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้บุกเบิกงานด้านเวชศาสตร์ทางกายและจิต โดยจัดตั้งสถาบันเวชศาสตร์ทางกายและจิต (Mind Body Medical Institute)ในปี 1988 เพื่อศึกษาวิจัยในด้านนี้
ในระยะแรกท่านพบว่า คนไข้ที่มารอตรวจที่โรงพยาบาลในแผนกผู้ป่วยนอก ร้อยละ 60-90 มาจากโรคเรื้อรัง และโรคเหล่านี้เกิดจากความเครียดเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่ง ท่านเห็นว่าการรักษาโรคเหล่านี้ให้ได้ผล ต้องแก้ไขเรื่องความเครียด ด้วยการสร้างความผ่อนคลาย การใช้ยารักษาอย่างเดียวจะได้ผลไม่ดีเท่าที่ควร
ท่านจึงได้นำเอาศาสตร์ตะวันออกหลายประการมาใช้บำบัดรักษา เช่น การฝึกความผ่อนคลายกล้ามเนื้อ การสวดมนต์ การทำสมาธิ โยคะ ชี่กง ฝึกการเจริญสติในเวลาออกกำลังกาย และอิริยาบถในชีวิตประจำวัน ซึ่งศาสตร์เหล่านี้ช่วยให้เกิดความผ่อนคลาย ลดความเครียดลงได้
ในระยะแรกท่านทดลองให้พระทิเบตทำสมาธิ เป็นเวลา 1ชั่วโมง แล้ววัดดูการทำงานของร่างกายในขณะเป็นสมาธิ พบว่าสมาธิทำให้ทำให้ความดันลดลง ชีพจรเต้นช้าลง หายใจช้าลง อุณหภูมิกายลดลง การเผาผลาญสารอาหารในร่างกายลดลง คลื่นสมองช้าลงและเป็นระเบียบมากขึ้น ท่านเรียกปรากฏการณ์ นี้ว่า ผลของความผ่อนคลาย (Ralaxation Response) ซึ่งเป็นผลตรงข้ามกับผลของความเครียด
ต่อมาจึงเริ่มรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยการฝึกสมาธิร่วมกับการใช้ยา ก็พบว่าได้ผลดีในโรคต่างๆ คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ โรควิตกกังวล โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง โรคลำไส้แปรปรวน ผู้ป่วยมีบุตรยาก อาการปวดเรื้อรังที่เกิดจากโรคต่างๆ เป็นต้น พบว่า ผลของความผ่อนคลายช่วยให้การรักษาโรคได้ผลดีขึ้น ใช้ยาลดลง บางรายเป็นไม่มากก็ไม่ต้องใช้ยา โดยเฉพาะพวกที่นอนไม่หลับ จะช่วยให้นอนหลับดี และฝึกระยะยาวก็ไม่ต้องใช้ยานอนหลับอีกเลย คุณภาพชีวิตผู้ป่วยดีขึ้น ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน http://www.massgeneral.edu/bhi/clinical_finding
ศ.เบนสันเป็นนักวิจัยเกี่ยวกับความเครียดที่มีชื่อเสียงคนหนึ่งของโลก เป็นคนแรกที่นำเอาการฝึกสมาธิมาใช้บำบัดโรคซึ่งมีสาเหตุมาจากความเครียด ซึ่งในสมัยนั้นไม่มีใครสนใจเรื่องนี้เลย ท่านทำงานทางด้านนี้ไม่ต่ำกว่า 40 ปี มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ 180เรื่อง เขียนหนังสือไว้ 12 เล่ม เช่น Relaxation response, Timeless Healing, The Wellness Book, Relaxation Revolution เป็นต้น ท่านผู้อ่านอาจจะเข้าไปดูได้ในAmazon.com/Herbert Benson และเข้าไปฟังคำบรรยายของท่านที่ Youtube.com/Herbert Benson ก็จะมีให้ฟังมากมาย เรื่องที่น่าสนใจเช่น meditation- universal antidote,Legacy Wisdom-Dr. Herbert Benson ,2011 Mind Body Week keynote Dr Herbert Benson, MD.เป็นต้น ก็จะได้ความรู้มากมาย
เมื่อท่านเกษียณอายุแล้ว ได้มาตั้งสถาบันเวชศาสตร์ด้านกายและจิต ที่โรงพยาบาลทั่วไปแห่งแมสซาชูเซตส์ เมื่อปี 2006 สถาบันแห่งนี้มีผลงานวิจัยที่น่าสนใจออกมาเป็นจำนวนมาก ท่านผู้อ่านอาจจะเข้าไปดูข้อมูลได้ในwww.massgeneral.org/bhi/research/published
การที่ ศ.เบนสันทำงานด้านเวชศาสตร์ทางกายและจิตเป็นเวลายาวนาน ได้นำเอาศาสตร์ตะวันออกหลายประการ โดยเฉพาะเรื่องสมาธิ เข้ามาใช้ในวงการแพทย์แผนปัจจุบัน และได้วางรากฐานวิชาการทางเวชศาสตร์ด้านกายและจิตไว้อย่างมั่นคง กระทั่งปัจจุบันวิชาการด้านนี้ถือเป็นการแพทย์ทางเลือกที่ได้รับการยอมรับ และนำมาใช้บำบัดโรคกันมากที่สุดแขนงหนึ่ง ท่านจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งเวชศาสตร์ทางกายและจิต
ศ.เบนสันได้แสดงให้เห็นแล้วว่า โรคเรื้อรังสามารถป้องกันและรักษาให้ได้ผลดีโดยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกายเป็นประจำ และโดยการฝึกจิตให้เกิดความผ่อนคลาย ฝึกสมาธิ เจริญสติ ซึ่งถ้าเราทุกคนตระหนักถึงผลร้ายของโรคเรื้อรังแล้วปฏิบัติตามหลักการดูแล สุขภาพด้วยตนเอง เราก็จะไม่เป็นโรคเหล่านี้ ไม่ต้องไปโรงพยาบาลตลอดช่วงชีวิตของเรา จะช่วยประหยัดงบประมาณให้รัฐเป็นอย่างมาก
credit : http://ascannotdo.wordpress.com/2013/03/26/%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4/
(จาก นิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 145 มกราคม 2556 โดย น.พ.แพทย์พงษ์ วรพงศ์พิเชษฐ)
ที่มา :   ASTVผู้จัดการออนไลน์ 3 มกราคม 2556

อันตรายจากไข้เลือดออก การป้องกันและการดูแลร่างกาย

Tuesday, July 15, 2014

อันตรายจากไข้เลือดออก การป้องกันและการดูแลร่างกาย

สาเหตุของการเป็นไข้เลือดออก ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า โรคไข้เลือดออกเกิดจากอะไร? โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Dengue Virus โดยมี ยุงลาย เจ้าตัวร้ายที่กัดเราเป็นประจำเป็นพาหะนำโรค โดยเชื้อไวรัสจะฟักตัวอยู่ในยุงลายประมาณ 5-8 วัน  เมื่อไรที่เจ้ายุงลายไปกัดคนก็จะทำให้คนที่โดนกัดได้รับเชื้อเป็นไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่มักพบในเด็กที่มีอายุระหว่าง 5-14ปี และระบาดในช่วงเดือน พฤษภาคม - กันยายน

ลักษณะของคนที่อาจเป็นไข้เลือดออก

แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นไข้เลือดออก เราสามารถสังเกตุได้จากอาการของโรค โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ตามข้อมูลข้างล่างนี้
ระยะที่1 : ระยะไข้สูง 
- ช่วงนี้ผู้ป่วยจะมีไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส
- ลักษณะภายนอกของผู้ป่วย ใบหน้าแดง, ตาแดง, มีอาการไอ และ เจ็บคอ, ซึม, เบื่ออาหาร  ในบางรายอาจมีอาการปวดท้องบริเวณชายโครงขวา หรือ ใต้ลิ้นปี่
- ระยะนี้ หากอาการไม่รุนแรงมาก ไข้จะค่อยๆลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น

ระยะที่ 2 : ระยะช็อคและมีเลือดออก
ผู้ป่วยจะมีอาการช็อคและเลือดออก ในช่วงไข้ลด
- มีอาการปวดท้องมากขึ้น กดเจ็บเล็กน้อยใต้ชายโครงขวา
- ผู้ป่วยจะมีอาการกระวนกระวาย ปัสสาวะน้อยลง  ตัวเย็น ซึม เหงื่ออกตามตัว
- มีจุดแดง เหมือนมีเลือดออกตามผิวหนัง, เลือดออกตามไรฟัน, เลือดกำเดาไหล, อาเจียนเป็นเลือด, อุจจาระเป็นสีดำ
- ความดันโลหิตต่ำ, ช็อคหมดสติ ในรายที่มีอาการรุนแรง ผุ้ป่วยอาจเสียชีวิตได้
- ระยะนี้ใช้เวลา 24-72 ชั่วโมง หากแพทย์แก้ไขได้ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แล้วเข้าสู่ระยะที่ 3 ของโรค

ระยะที่ 2 : ระยะฟื้นตัว
ในช่วงนี้ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น อยากอาหาร ร่างกายฟื้นตัวได้ดีจนเข้าสู่สภาวะปกติ บางรายอาจมีผื่นแดงคัน ตามแขนขา  ตลอดระยะเวลาของโรคมักไม่เกิน 9 วัน ถ้าอาการไม่รุนแรงประมาณ 3-4 วัน ผู้ป่วยจะอาการดีขึ้นเอง

ดูแลร่างกายอย่างไรหากเป็นไข้เลือดออก

  • ในกรณีที่สงสัยว่าอาจเป็นไข้เลือดออก ให้พบแพทย์ ทันที
  • หากผู้ป่วยมีไข้ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้ 
  • ถ้าเป็นไข้เลือดออก ห้ามใช้ยาลดไข้ประเภทแอสไพรินเพราะเกร็ดเลือดเสียการทำงาน ทำให้เลือดออกได้ง่าย ให้ใช้ยาประเภทพาราเซตามอล ทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • สำหรับผู้ป่วยที่มีไข้สูง เบื่ออาหาร ร่างกายจะขาดน้ำมาก แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่า, น้ำผลไม้, น้ำเกลือแร่ ORS หากมีอาการอาเจียร ควรดื่มทีละน้อยๆแต่บ่อยๆ
  • หากผู้ป่วยมีอาการช็อค, เลือดออก , ปวดท้องบริเวณ ยอดอก หรือ ลิ้นปี่, กระสับกระส่าย, ซึม, เบื่ออาหาร หรือทานอาหารไม่ได้ , อาเจียร  ควรพบแพทย์อย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
  • เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น จะเริ่มอยากอาหาร ควรเริ่มจากการทานอาหารอ่อน ประเภทข้าวต้ม
  • งดอาหารที่เป็นสีแดง หรือ ดำ เพราะถ้าอาเจียรจะแยกไม่ออกว่าเป็นเลือดหรือไม่
ข้อควรระวัง ผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรงที่สุดในวันที่ไข้เริ่มลด 

 การป้องกัน

  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อย่าให้ยุงวางไข่ได้ ทั้งในบ้านและรอบๆบ้าน เช่น อย่าให้มีน้ำขัง หาฝาปิดตามภาชนะต่างๆ ให้ใส่เกลือลงในน้ำ หรือการใช้ทรายอะเบท  เพื่อทำลายลูกน้ำยุงลาย เป็นต้น
  • ควรให้เด้กนอนในมุ้ง หรือ เล่นบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอ
  • ระวังอย่าให้ยุงกัด โดยเฉพาะตอนกลางวัน
ข้อควรระวัง ผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรงที่สุดในวันที่ไข้เริ่มลด 

ผด ผื่น คัน ในเด็กท่ารก

Tuesday, June 17, 2014

นอกจากปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศแล้ว ผดผื่นคันยังเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่พบมากในเด็กทารก ผดผื่นบวมนี้อาจเป็นรอยแดงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่ผิวของเด็กที่บอบบาง เป็น พิเศษ เช่นบริเวณ หน้าอก ท้อง คอ บริเวณข้อพับ และบริเวณที่เสียดสีกับเสื้อผ้าบ่อยๆ  ผดผื่นเป็นได้กับ เด็กๆ ทุกวัย

สาเหตุของผดผื่น

เด็กๆจะเป็นผดผื่นได้ง่าย ในสภาพอากาศร้อนชื้น เมื่ออากาศร้อน ร่างกายของเด็กจะเหงื่อออกมาเพื่อระบายความร้อน  แต่ถ้าเหงื่อออกมากเกินไปจะทำให้รูขุมขน อุดตันจนไม่สามารถขับเหงื่อ ออกมาได้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดผดผื่น (หน้าหนาวก็เป็นผดผื่นได้ ซึ่งอาจเกิดจากผิวแห้งหรือใส่เสื้อผ้าหนาเกินไป)

ทำอย่างไรเมื่อลูกเป็นผื่นคัน

ไปพบแพทย์ครับ แต่ถ้าไม่สะดวกไปพบแพทย์เนื่องจากไม่สะดวกในเวลานั้น  ในกรณีของผดผื่นเนื่องจากอากาศร้อน
-  ให้เด็กๆใส่เสื้อผ้าหลวมๆหรือถอดออกเพื่อระบายความร้อนให้กับเด็ก
- ควรอยู่ในห้องที่ระบายอากาศได้ดี มีลมพัดผ่าน หากอยู่ในห้องที่เปิดเครื่องปรับอากาศหรือพัดลมในห้อง อย่าให้ลมโดนตัวแรงจนเกินไป ให้มีกระแสลมพัดโชยตัวเด็กเพียงเบาๆ 
- อาบน้ำให้เด็กเพื่อระบายความร้อนให้เด็กๆ พยายามเช็ดตัวเด็กเบาๆอย่าให้เสียดสีผิวบริเวณที่เป็นผื่น เพราะการใช้ผ้าขนหนูเช็ดตัวอาจทำให้เกิดการระคายเคืองบริเวณผิวที่เป็นผด ผื่น ได้
- สุดท้ายตัดเล็บให้เด็กๆ เป็นประจำเพื่อไม่ให้เกิดแผลเวลาเกา  ในเวลาที่เด็กๆหลับ หรือหาถุงมือเล็กๆ ให้ใส่ เพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองเวลาเกา

ถ้าผื่นคันนั้นไม่หายหรือลดลง ใน2-3วัน และดูเหมือนจะเป็นมากขึ้น ให้พาเด็กไปพบแพทย์ ในทันที