อันตรายจากไข้เลือดออก การป้องกันและการดูแลร่างกาย

Tuesday, July 15, 2014

อันตรายจากไข้เลือดออก การป้องกันและการดูแลร่างกาย

สาเหตุของการเป็นไข้เลือดออก ก่อนอื่นเรามาดูกันว่า โรคไข้เลือดออกเกิดจากอะไร? โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า Dengue Virus โดยมี ยุงลาย เจ้าตัวร้ายที่กัดเราเป็นประจำเป็นพาหะนำโรค โดยเชื้อไวรัสจะฟักตัวอยู่ในยุงลายประมาณ 5-8 วัน  เมื่อไรที่เจ้ายุงลายไปกัดคนก็จะทำให้คนที่โดนกัดได้รับเชื้อเป็นไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออกส่วนใหญ่มักพบในเด็กที่มีอายุระหว่าง 5-14ปี และระบาดในช่วงเดือน พฤษภาคม - กันยายน

ลักษณะของคนที่อาจเป็นไข้เลือดออก

แล้วเราจะทราบได้อย่างไรว่าเป็นไข้เลือดออก เราสามารถสังเกตุได้จากอาการของโรค โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ตามข้อมูลข้างล่างนี้
ระยะที่1 : ระยะไข้สูง 
- ช่วงนี้ผู้ป่วยจะมีไข้สูง 39-40 องศาเซลเซียส
- ลักษณะภายนอกของผู้ป่วย ใบหน้าแดง, ตาแดง, มีอาการไอ และ เจ็บคอ, ซึม, เบื่ออาหาร  ในบางรายอาจมีอาการปวดท้องบริเวณชายโครงขวา หรือ ใต้ลิ้นปี่
- ระยะนี้ หากอาการไม่รุนแรงมาก ไข้จะค่อยๆลดลง ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น

ระยะที่ 2 : ระยะช็อคและมีเลือดออก
ผู้ป่วยจะมีอาการช็อคและเลือดออก ในช่วงไข้ลด
- มีอาการปวดท้องมากขึ้น กดเจ็บเล็กน้อยใต้ชายโครงขวา
- ผู้ป่วยจะมีอาการกระวนกระวาย ปัสสาวะน้อยลง  ตัวเย็น ซึม เหงื่ออกตามตัว
- มีจุดแดง เหมือนมีเลือดออกตามผิวหนัง, เลือดออกตามไรฟัน, เลือดกำเดาไหล, อาเจียนเป็นเลือด, อุจจาระเป็นสีดำ
- ความดันโลหิตต่ำ, ช็อคหมดสติ ในรายที่มีอาการรุนแรง ผุ้ป่วยอาจเสียชีวิตได้
- ระยะนี้ใช้เวลา 24-72 ชั่วโมง หากแพทย์แก้ไขได้ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น แล้วเข้าสู่ระยะที่ 3 ของโรค

ระยะที่ 2 : ระยะฟื้นตัว
ในช่วงนี้ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้น อยากอาหาร ร่างกายฟื้นตัวได้ดีจนเข้าสู่สภาวะปกติ บางรายอาจมีผื่นแดงคัน ตามแขนขา  ตลอดระยะเวลาของโรคมักไม่เกิน 9 วัน ถ้าอาการไม่รุนแรงประมาณ 3-4 วัน ผู้ป่วยจะอาการดีขึ้นเอง

ดูแลร่างกายอย่างไรหากเป็นไข้เลือดออก

  • ในกรณีที่สงสัยว่าอาจเป็นไข้เลือดออก ให้พบแพทย์ ทันที
  • หากผู้ป่วยมีไข้ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเพื่อลดไข้ 
  • ถ้าเป็นไข้เลือดออก ห้ามใช้ยาลดไข้ประเภทแอสไพรินเพราะเกร็ดเลือดเสียการทำงาน ทำให้เลือดออกได้ง่าย ให้ใช้ยาประเภทพาราเซตามอล ทุกๆ 4 ชั่วโมง
  • สำหรับผู้ป่วยที่มีไข้สูง เบื่ออาหาร ร่างกายจะขาดน้ำมาก แนะนำให้ดื่มน้ำเปล่า, น้ำผลไม้, น้ำเกลือแร่ ORS หากมีอาการอาเจียร ควรดื่มทีละน้อยๆแต่บ่อยๆ
  • หากผู้ป่วยมีอาการช็อค, เลือดออก , ปวดท้องบริเวณ ยอดอก หรือ ลิ้นปี่, กระสับกระส่าย, ซึม, เบื่ออาหาร หรือทานอาหารไม่ได้ , อาเจียร  ควรพบแพทย์อย่างเร่งด่วนเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
  • เมื่อผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น จะเริ่มอยากอาหาร ควรเริ่มจากการทานอาหารอ่อน ประเภทข้าวต้ม
  • งดอาหารที่เป็นสีแดง หรือ ดำ เพราะถ้าอาเจียรจะแยกไม่ออกว่าเป็นเลือดหรือไม่
ข้อควรระวัง ผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรงที่สุดในวันที่ไข้เริ่มลด 

 การป้องกัน

  • กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย อย่าให้ยุงวางไข่ได้ ทั้งในบ้านและรอบๆบ้าน เช่น อย่าให้มีน้ำขัง หาฝาปิดตามภาชนะต่างๆ ให้ใส่เกลือลงในน้ำ หรือการใช้ทรายอะเบท  เพื่อทำลายลูกน้ำยุงลาย เป็นต้น
  • ควรให้เด้กนอนในมุ้ง หรือ เล่นบริเวณที่มีแสงสว่างเพียงพอ
  • ระวังอย่าให้ยุงกัด โดยเฉพาะตอนกลางวัน
ข้อควรระวัง ผู้ป่วยไข้เลือดออกจะมีอาการรุนแรงที่สุดในวันที่ไข้เริ่มลด 

0 comments:

Post a Comment