ข่าวสารจาก อย. - อย.ห่วงภัยแฝงช่วงหน้าฝนจากการสูดดมยาจุดกันยุง

Friday, August 15, 2014

ข่าวสารจาก อย. - อย.ห่วงภัยแฝงช่วงหน้าฝนจากการสูดดมยาจุดกันยุง

อย.ห่วงใยผู้บริโภคเจอภัยแฝงช่วงหน้าฝนที่มาจากการสูดดมสารกลุ่มไพรีทรอยด์ที่ผสมอยู่ในยาจุดกันยุง ซึ่งหากได้รับสารกลุ่มไพรีทรอยด์ในปริมาณมาก อาจทาให้เกิดอาการพิษเฉียบพลันได้แก่ มึนงง ปวดศรีษะ และ อาเจียนได้ และ ในรายที่แพ้จะทำให้ผิวหนังอักเสบ บวมแดงน้ำมูกไหลและหายใจขัด อย.เตือนควรใช้อย่างถูกวิธีและปฏิบัติตามคำเตือนตามที่ได้ระบุไว้ข้างกล่องผลิตภัณฑ์


ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) และ ในฐานะโฆษก อย. เปิดเผยว่าสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยามีความห่วงใยผู้บริโภค เนื่องจากเข้าสู่ช่วงฤดูฝน ซึ่งมีความเสี่ยงในการเกิดโรคเพิ่มขึ้น หนึ่งในโรคที่น่ากลัวในช่วงฤดูฝนคือโรคไข้เลือดออก ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค และ หนึ่งในวิธีการป้องกันยุงลายอย่างง่ายนั้นคือการใช้ยาจุดกันยุงเพื่่อป้องกันไม่ให้ยุงกัด


ยาจุดกันยุงส่วนใหญ่จะนิยมใช้สารไล่หรือป้องกันยุงในกลุ่มไพรีทรอยด์ (pyrethroids) ซึ่งเป็นสารเคมีสังเคราะห์ที่เลียนแบบสารไพรีทรินส์ (pyrethrins) ที่สกัดได้จากพืชตระกลเบญจมาศ (สารสกัดไพรีทรัมหรือ pyrethrum extract) ตัวอย่างสารออกฤิทธิ์กลมไพรีทรอยด์ที่นิยมใช้ในยาจุดกันยุงและขึ้นทะเบียนไวักับ อย. เช่น ดี-อัลเลทริน (d-allethrin), เอสไบโอทริน (esbiothrin), เมโทฟลูทริน (metofluthrin) เป็นต้น สารไพรีทรอยด์ในยาจุดกันยุงจะ ไปรบกวนการทำงานของระบบประสาท ทำให้ยุงเป็นอัมพาตอย่างรวดเร็ว และตกลงมาหงายท้อง นอกจากนี้สารไพรีทรอยด์ยังมีฤทธิ์ในการไล่ยุงด้วย ควันที่ปล่อยออกมาจากยาจุดกันยุงที่มีส่วนผสม ของไพรีทรอยด์จึงช่วยลดอัตราการกัดของยุงและป้องกันการรบกวนจากยุงในบริเวณที่จุดได้ ในปัจจุบันยาจุดกันยุงมีการพยายามปรับแต่งกลิ่นให้มีกลิ่นหอมเลียนแบบธรรมชาติเพื่อกลบกลิ่น เผาไหม้และกลิ่นของสารเคมี

โดยทั่วไปสารไพรีทรอยด์มีความเป็นพิษต่ำกว่าสารเคมีกำจัดแมลง กลุ่มอื่น การใช้ยาจุดกัน ยุงในขนาดและวิธีการใช้ปกติมักไม่พบการเกิดพิษ อย่างไรก็ตาม หากสูดดมควันที่ปล่อยออกมาจาก ยาจุดกันยุงในปริมาณมาก เช่น อยู่ในบริเวณที่คับแคบไม่มีอากาศถ่ายเทติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจ เป็นอันตรายได้ โดยความรุนแรงของอาการพิษขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย หาก ได้รับในปริมาณสูงจะมีอาการพิษเฉียบพลัน ได้แก่ มึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนเพลีย ชัก หรือหมดสติได้ ส่วนอาการพิษอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ อาการแพ้ทางผิวหนัง คัน มีผื่นแดง หากเข้าตาอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ ดังนั้น เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดต่อสุขภาพ ผู้บริโภคควรจุดยาจุดกันยุงในห้องที่มี อากาศถ่ายเทและเก็บให้มิดชิด ไม่ควรวางไว้ใกล้หรือรวมกับอาหารและวางให้พ้นมือเด็ก หลังจาก สัมผัสยาจุดกันยุงทุกครั้งควรล้างมือให้สะอาด นอกจากนี้ เพื่อป้องกันอัคคีภัยที่อาจจะเกิดขึ้น ควร ใช้ขาตั้งหรือถาดรองยาจุดกันยุงที่ทำด้วยโลหะหรือวัสดุที่ไม่ติดไฟ ขณะใช้ควรวางให้ห่างวัตถุไวไฟหรือ ของที่เป็นเชื้อไฟได้ ในกรณีที่ได้รับอันตรายจากการใช้ยาจุดกันยุง หรือพบผลิตภัณฑ์ ที่สงสัยว่าไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย. สามารถแจ้งได้ที่ สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือ E-mail: 1556@fda.moph.go.th หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ รองเลขาธิการฯ กล่าวในที่สุด

credit: http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/%E0%B8%AD%E0%B8%A2._%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9D%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9D%E0%B8%99_%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%A1_%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%87.pdf

0 comments:

Post a Comment